สรุปและอภิปราย

        
                                                              สรุป
         จากการศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะ ปรากฏว่าโรงเรียนบ้านเจาะเกาะมีกระบวนการใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นฐาน พุทธศักราช 2551 กล่าวคือ เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบและทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วยทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับเห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ที่ชัดเจนตลอดแนว ซึ่งจะสามารถช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีเอกภาพยางขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจนเรื่องการวัดและประเมินการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ และครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มทุกเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในการวางแผน ดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข พ่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

                                           อภิปรายผล
1. จุดมุ่งหมายของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะจะเน้นผู้เรียนให้ได้รับพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ มีความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะนั้นมีความสอดคล้องกัน และได้เพิ่มเติมรายวิชาอิสลามแบบเข้ม เนื่องจากนักเรียน 100 % เป็นมุสลิมและเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นอีกด้วย
นอกจากนี้ชุมชนยังมีการแปรรูปอาหาร จึงมีการสอดแทรกของการสอนวิชาชีพ โดยเชิญบุคลากรจากท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียน
3. สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่ได้จัดส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนโรงเรียนได้มีกิจกรรมในส่วนของการส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้เรียน ซึ่งสามารถแยกเป็นกิจกรรมในเรื่องของการยกระดับทางการเรียน การสอน กิจกรรมส่งเสริมวิชาการมีการแข่งขันทักษะทางวิชาการ และมีการนำนักเรียนไปเยี่ยมชมนิทรรศการทางวิชาการต่าง ๆ และนำความรู้ตรงนี้มาปรับลักษณะการเรียนการสอนของครูและนักเรียน อีกกิจกรรมหนึ่ง คือ กิจกรรมชุมนุมของโรงเรียน ซึ่งในตอนนี้ทางโรงเรียนยังอยู่ในช่วงของการลองใช้หลักสูตร ในส่วนชุมนุมของโรงเรียนก็จัดให้อยู่ในรูปของอิสลามอย่างเดียวแต่ในปีการศึกษาหน้าจะมีการจัดทั้งหมด เพื่อที่จะรองรับการแข่งขันทักษะทางวิชาการทางเขตพื้นที่การศึกษาและระดับภาคเพื่อให้สอดคล้องกัน
4. ตอนนี้ทางโรงเรียนบ้านเจาะเกาะได้ใช้หลักสูตรเป็นปีแรก จะประเมินผลเต็มรูปแบบไม่ได้ แต่จะประเมินในส่วนของหลักสูตรอันเก่า ว่ามันมีการสอดคล้องมากน้อยเพียงใด ก็คือ จะประเมินผลในส่วนนี้และในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ อีกส่วนหนึ่งก็คือ ในส่วนผลสัมฤทธิ์จากนักเรียน แต่ต้องรอดูผลการประเมินผลปลายภาค ถึงจะมาสรุปข้อมูลตรงนี้ได้
ในการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาครั้งนี้ สามารถอภิปรายผลการศึกษา ดังนี้
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้หลักสูตรทีมีองค์ประกอบสอดคล้องกับความต้องการของ
ชุมชนและผู้เรียน อีกทั้ง นักเรียนมีความพึงพอใจในหลักสูตรท้องถิ่น
ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น โดยการศึกษาเอกสารเกียวกับนโยบายการศึกษาของชาติ การศึกษาสภาพทั่วไป ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความต้องการของชุมชน สำรวจความต้องการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น จากนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ศึกษาแนวคิดทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยทีเกียวข้องกับ
องค์ประกอบกับองค์ประกอบและรูปแบบของหลักสูตร พบว่า มีนโยบายให้สถานศึกษาจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของชุมชน และท้องถิน โดยส่งเสริมให้
ท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยาการธรรมชาติในท้องถิ่น จัดการเรียนรู้ตามสภาพความต้องการของนักเรียนและท้องถิ่นโดยเฉพาะงานอาชีพ ทีอาศัยผู้รู้ในท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จะเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ทำให้ นักเรียนมีความรัก และภูมิใจในท้องถิน
ตอนที่ 2 การพัฒนาโครงร่างหลักสูตร เพือให้ได้หลักสูตรทีมีความเหมาะสม โดยกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหา เวลาเรียน แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเอกสารประกอบหลักสูตร คือแผนการจัดการเรียนรู้ ซึงสอดคล้องกับนโยบายของกรมวิชาการตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีครู วิทยากรในท้องถิน เป็นผู้ให้ความรู้กับนักเรียน มีการบันทึกผลการสอน ทำให้ค้นพบข้อดี และข้อบกพร่องของหลักสูตร เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
ตอนที 4 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร หลักสูตรเกี่ยวกับการใช้ภาษา ให้มีความกระชับ และเพิ่มเติมรูปภาพในใบความรู้ ใบงาน

                                        ข้อเสนอแนะ
ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดไว้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ และต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างเช่น ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและความต้องการของสังคมและชุมชน ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องดูว่านโยบายในส่วนกลางนั้นเป็นอย่างไร องค์ประกอบแรกที่สำคัญคือ การดำเนินงานของหลักสูตร ซึ่งต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ส่วนที่สองคือ การจัดเนื้อหาและประสบการณ์ ซึ่งต้องให้สอดคล้องกับชุมชนและความต้องการของชุมชนด้วย และในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลหลักสูตรนั้นต้องหาข้อสรุป และแก้ไขข้อที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรค ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติให้สามารถพัฒนาทั้งตนเองและสังคมต่อไป

                        ข้อเสนอแนะศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
        จากการที่ได้ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านเจาะเกาะนั้นมีบางหัวข้อที่ไม่ได้ถาม เช่น มาตราฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด การจัดเวลาเรียน โครงสร้างเวลาเรียน การจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ การจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เอกสารหลักฐานการศึกษา การเทียบโอนผลการเรียน การบริหารจัดการหลักสูตร เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาในครั้งต่อไปจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอบถาม เพื่อให้ได้เนื้อหาครบถ้วนและได้รับความรู้ ความชัดเจน และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง